คือ เครื่องแปลงไฟ เป็นอุปกรณ์ที่เอาไว้ใช้สำหรับแปลงไฟฟ้าแบบกระแสตรงDC ที่ผลิตได้จากแผงโซล่าเซลล์ มาเป็นไฟฟ้าแบบกระแสสลับAC 220V ที่นำมาใช้งานกับอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าทั่วไปภายในที่อยู่อาศัย
ในการระบบติดตั้งโซล่าเซลล์นั้น แต่ละระบบนั้นจะใช้อินเวอร์เตอร์คนละชนิดกัน ดังนั้นเมื่อต้องการติดตั้งระบบโซล่าเซลล์ ควรทราบชนิดของอินเวอร์เตอร์แต่ละชนิดก่อน โดยส่วนใหญ่แล้ว ชนิดของอินเวอร์เตอร์ที่ติดตั้งในระบบออนกริดที่ติดตั้งตามบ้านเรือนนั้น จะเป็นชนิด String Solar Inverter หรือระบบออฟกริด จะใช้อินเวอร์เตอร์ชนิด Off Grid Solar Inverterเป็นต้น
เป็นออนกริด อินเวอร์เตอร์ ขนาดใหญ่ ที่พบเจอในตลาดทั่วไปก็มีขนาดตั้งแต่ 100 kW. - 2,500 kW. ส่วนใหญ่จะใช้ ในโซล่าฟาร์ม หรือ PV Plant ขนาดใหญ่ที่มีการติดตั้งกำลังการผลิตเป็นหลายๆเมกกะวัตต์ สะดวกในการติดตั้งระบบใหญ่ๆ แต่อาจมีข้อเสียคือ หากตัวอินเวอร์เตอร์เสีย 1ตัวก็จะทำให้กำลังการผลิตไฟฟ้าทั้งระบบลดลงอย่างมากเช่น PV Plant ขนาดกำลังการผลิต 10 MW โดยใช้ Central Solar Inverter ขนาด 1,000 kW จำนวน 10 set หากเสียไป 1 ตัว ก็ทำให้ประสิทธิภาพหายไปถึง 10% ซึ่งหากใช้อินเวอร์เตอร์ ที่ขนาดเล็กๆลง หากเสียไปสัก1 ตัว ประสิทธิภาพที่ลดลงจะไม่มาก
เป็นออนกริด อินเวอร์เตอร์ ขนาดเล็ก ตั้งแต่ 2 - 60 kW. ซึ่งเป็นอินเวอร์เตอร์ ที่นำมาติดตั้งใช้งานตามบ้าน สำนักงาน หรือโรงงาน ที่ส่วนใหญ่ติดตั้งบนหลังคา หรือดาดฟ้า เนื่องจากกำลังการผลิตและขนาดที่เหมาะสมในการติดตั้ง การต่อใช้งานก็โดยการที่นำ แผงโซล่าเซลล์ มาอนุกรม และหรือ ขนานกัน ให้ได้ค่าแรงดันไฟฟ้า กระแสไฟฟ้า หรือกำลังไฟฟ้า ให้เหมาะสมกับที่ String Solar Inverter ต้องการ แล้วอินเวอร์เตอร์ก็แปลงไฟฟ้า DC จากแผง ให้เป็นไฟฟ้า AC แล้วขนานหรือเชื่อมต่อเข้ากับไฟฟ้าของการไฟฟ้าฯ ที่เมนเบรคเกอร์ หรือ MDB ของผู้ใช้งาน
เป็นออนกริด อินเวอร์เตอร์ ประเภทหนึ่งซึ่งมีพัฒนาการเพื่อทำให้ อินเวอร์เตอร์มีประสิทธิภาพสูงขึ้น โดยการเพิ่มอุปกรณ์ Power Optimizer ไปติดตั้งที่ใต้แผงโซล่าเซลล์ แต่ละแผง (บางรุ่น 1 Power Optimizer ต่อได้ 2 PV) เพื่อทำหน้าที่ในการปรับแต่งค่าแรงดันไฟฟ้า DC ที่มาจากแผงโซล่าเซลล์ให้เหมาะสมก่อน (DC to DC) แล้วจึงส่งต่อไปยัง Inverter เพื่อแปลงเป็น ไฟฟ้า AC นำไปใช้งานต่อไปหากบางแผงถูกบดบังแสง หรือเกิดเงา ถ้าเป็นแบบ String Solar Inverter ทั่วไปค่ากำลังไฟฟ้าที่ได้ก็ลดลงไปทั้ง String (อาจจะ10 - 20 แผงขึ้นอยู่กับขนาดของแผง ) แต่ถ้ามี Power Optimizerแล้วแต่ละแผงจะทำงานแยกเป็นอิสระ จึงทำให้ทุกแผงผลิตกระแสไฟฟ้าได้สูงสุดในขณะนั้น ทำให้กำลังไฟฟ้าลดลงเฉพาะแผงที่มีเงาบังเท่านั้น
** มอนิเตอร์กำลังการผลิต หรือเหตุเสีย ได้เป็นรายแผง แต่หากเป็น String Solar Inverterก็จะดูได้เป็นรายString
** กรณีString Solar Inverter หากปิดระบบ หรือ Off Power ของ อินเวอร์เตอร์ ในเวลากลางวัน แผงโซล่าเซลล์ ก็ยังผลิตไฟฟ้าอย่างต่อเนื่องซึ่งอาจมาแรงดันมากถึง 500-800 VDC ส่งต่อมายังอินเวอร์เตอร์ แต่หากเป็นSolar Inverter แบบมี Power Optimizer เมื่อปิดระบบฯ ก็จะปรับแรง ดันลงมาให้เหลือเพียง 1 โวลท์ เท่านั้น เพื่อให้เกิดความปลอดภัยกับผู้ใช้งาน
เป็นโซล่าอินเวอร์เตอร์ ที่มีทั้งแบบออนกริด หรือแบบออฟกริด โดยทางสถาปัตยกรรมก็คือ ทำตัวอินเวอร์เตอร์ให้เล็กลง แล้วไปติดตั้งที่ใต้แผงโซล่าเซลล์ โดยอาจจะต่อ โดยใช้ MicroInverter 1ตัว:1แผง , 1ตัว:2แผง หรือ 1ตัว:4แผง แล้วแต่ที่แต่ละยี่ห้อจะผลิตออกมาจำหน่าย ซึ่ง Output ที่ออกมาจาก MicroInverter เป็นไฟฟ้า AC ที่นำไปต่อใช้งานได้เลย ซึ่งอินเวอร์เตอร์ ประเภทนี้กำลังเป็นที่นิยมในต่างประเทศ และมีหลายยี่ห้อที่แข่งขันกันปรับปรุงและพัฒนากันค่อนข้างมาก อันเนื่องจากผู้ใช้งานทั่วไปสามารถติดตั้งใช้งานได้เอง เคลื่อนย้ายได้สะดวก มีชุดติดตั้งแบบง่ายๆ จำนวนไม่กี่แผง อีกทั้งทำใช้งานเป็นระบบออฟกริดได้อีกด้วย
เป็นโซล่า อินเวอร์เตอร์ แบบออฟกริด ซึ่งหมายถึงเป็นอินเวอร์เตอร์ที่แปลงไฟฟ้า DC จากแผงโซล่าเซลล์ ให้เป็นไฟฟ้า AC แล้วนำไปต่อใช้งานได้เลยโดยไม่ต้องไปขนานหรือเชื่อมต่อกับระบบจำหน่ายของการไฟฟ้าฯ ซึ่งระบบออฟกริดนี้ ส่วนใหญ่ก็จะต้องมีระบบแบตเตอรี่และชาร์จเจอร์ มาต่อร่วมด้วยเพื่อทำหน้าที่เก็บสำรองพลังงานไฟฟ้าไว้ ตอนที่ไม่มีแสงแดด ซึ่งอินเวอร์เตอร์ประเภทนี้ก็เหมาะกับสถานที่ที่ไม่มีไฟฟ้าของการไฟฟ้าฯเข้าถึง แต่ต้นทุนของระบบนี้ก็ยังมีข้อจำกัดที่แบตเตอรี่ในปัจจุบันยังมีราคาสูง และอายุการใช้งานแบตเตอรี่ 2-5 ปี
แบ่งได้เป็นแบบ ไฮบริด ออฟกริด และ ไฮบริดออนกริด
** ไฮบริด ออฟกริด ความหมายคือ อินเวอร์เตอร์ รับไฟ ได้จากหลายแหล่ง เช่น ไฟจากแผงโซล่าเซลล์ ไฟจากการไฟฟ้า ไฟจากเครื่องปั่นไฟ เป็นต้น แล้วในระบบก็มีแบตเตอรี่ เพื่อเก็บพลังงานไฟฟ้าด้วย ไว้สำรองกรณีไม่มีแสงแดด โดยสามารถตั้งค่าให้รับไฟจากแหล่งใดก่อก็ได้ เช่นเวลากลางวัน ก็ใช้ไฟจากแผงโซล่าเซลล์ พอกลางคืนใช้ไฟจากแบตเตอรี่ หากแบตเตอรี่ไฟหมด ก็ให้ใช้ไฟจากการไฟฟ้าฯ สำหรับความหมายของออฟกริด คือในตอนกลางวัน ถ้าไฟจากแผงโซล่าเซลล์ ผลิตมามากเกินกว่าที่ใช้งาน ก็จะไม่เชื่อมต่อหรือไม่ขนานหรือไม่ไหลย้อนกลับไปยัง ระบบจำหน่ายไฟของการไฟฟ้าฯ
** ไฮบริด ออนกริด เหมือนกับ ไฮบริด ออฟกริด ทุกอย่างยกเว้นถ้าไฟเหลือจากแผงโซล่าเซลล์ จะขนานหรือเชื่อมต่อหรือไหลย้อนกลับเข้าสู่ระบบจำหน่ายไฟของการไฟฟ้าฯ ส่วนมากอินเวอร์เตอร์ชนิดนี้ จะเน้นการขายไฟให้กับการไฟฟ้าฯ มากกว่า